วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เกาะช้าง

เกาะช้าง ใหญ่สมชื่อจริง ๆ มีพื้นที่กว่า 268,125 ไร่ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะทะเลอ่าวไทยและใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากภูเก็ต เกาะช้างที่ผมพูดถึงคือ เกาะช้าง เกาะช้าง ตั้งอยู่ในเขตแหลมงอบ จ.ตราด นะครับ ไม่ใช่ เกาะช้างที่อยู่ทะเลอันดามัน จ.ระนอง (ระวังจะสับสน)
เกาะช้าง ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน คือ สลักเพชร สลักคอก เจ้กแบ้ บ้านด่านใหม่ คลองสน คลองพร้าว คลองนนทรี และบ้านบางเบ้า มีสถาที่ราชการ อำเภอ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล และเป็นที่ตั้งอุทยานฯหมู่เกาะช้างอีกด้วย ภายในเกาะจะเป็นสวนยางพารา และผลไม้
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่เขาสลักเพชร มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดน้ำตก ลำธารหลายสาย ชายหาดสวย มีอยู่มากมาย ตามชายฝั่งตะวันตก ที่ดังๆ หน่อยก็ได้แก่ หาดทรายขาว หาดคลองพร้าว หาดไก่แบ้ ทั้งสามหาดมี รีสอร์ทตั้งอยู่เรียงรายริมหาดมากมาย ตั้งแต่ ราคา หลังละ 200 กว่า บาท ถึง 5,000 บาท ขึ้นไป นอกจากนี้บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ยังมีเกาะเล็กๆ รายล้อม อันได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายา เกาะง่าม เกาะไม้ชี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะกระ เการัง เกาะมันนอก เกาะมันใน เกาะกระดาด เกาะหมาก เกาะขาม ฯลฯ ส่วนใหญ่ช่วงเทศกาล เกาะเล็กเกาะน้อยเหล่านี้มัก เสนอแต่แพคเก็จทัวร์ ปัจจุบันมีทัวร์รูปแบบต่างๆ มากมายนอกจากการเล่นน้ำทะเลเที่ยวเกาะ เช่น ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขี่ช้างท่องไพร ล่องเรือ ตกปลา ไดหมึก หรือพักโฮมสเตย์กับหมู่บ้านชาวประมง
ด้วยความสมบูรณ์แห่งแหล่งท่องเที่ยว เราจึงสามารถท่องเที่ยวเกาะช้างได้ทุกฤดูกาล
---ที่มาhttp://www.thai-tour.com/thai-tour/East/Trad/data/place/kohchang/kohchang_index.html

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เที่ยวกระบี่ เที่ยวเกาะพีพี

เกาะพีพี

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามัน ด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่สวยงามตามธรรมชาติ รอบๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ คือ ภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้นๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 242,437.17 ไร่ หรือ 387.90 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2520 ให้จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่รัฐบาลพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวรต่อไป กองอุทยานแห่งชาติ จึงเสนอกรมป่าไม้ให้มีคำสั่งที่ 1261/2523 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2523 ให้ นายสันติ สีกุหลาบ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติทางทะเล ในท้องที่จังหวัดภูเก็ตและติดต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจากการรายงานการสำรวจปรากฏว่า พื้นที่บริเวณเกาะพีพี และหมู่เกาะใกล้เคียง ระหว่างจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ มีความเหมาะสมที่จะจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2524 และป่าไม้เขตนครศรีธรรมราชได้มีหนังสือที่ กส.0709(นศ)/269 ลงวันที่ 19 มกราคม 2525 แจ้งว่า ป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะใกล้เคียง รวมถึงหมู่เกาะพีพีในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีทิวทัศน์ และธรรมชาติสวยงาม เห็นสมควรจัดเป็นอุทยานแห่งชาติอีกแห่งหนึ่ง

กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 524/2525 ลงวันที่ 14 เมษายน 2525 ให้ นายสมจิตร สภาวรัตน์ภิญโญ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจ และจัดตั้งบริเวณหมู่เกาะพีพี และป่าบริเวณหาดนพรัตน์ธารา ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นอุทยานแห่งชาติ และกองอุทยานแห่งชาติเห็นสมควร ทำการสำรวจบริเวณสุสานหอย 75 ล้านปี ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อีกแห่งหนึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งเดียวกัน ผลการสำรวจตามหนังสือรายงาน ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2525 สรุปได้ว่า พื้นที่ตามแหล่งต่างๆ มีความสวยงามเป็นพิเศษ มีลักษณะเด่นหลายแห่ง มีทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนของประชาชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และมีมติเห็นชอบเมื่อ 15 มิถุนายน 2525 ในการประชุมครั้งที่ 1/2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินสุสานหอย 75 ล้านปี หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี และเกาะใกล้เคียง ในท้องที่ตำบลหนองทะเล ตำบลอ่าวนาง ตำบลไสไทย และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ประมาณ 243,725 ไร่ หรือ 389.96 กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 160 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2526 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 47 ของประเทศไทย

ต่อมาได้ดำเนินการผนวกพื้นที่บริเวณสุสานหอย และเกาะใกล้เคียง เพิ่มจำนวน 12.17 ไร่ หรือ 0.02 ตารางกิโลเมตร ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 113 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 และต่อมาได้เพิกถอนพื้นที่บางส่วนในบริเวณเขาหางนาค ในท้องที่ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พื้นที่ 1,300 ไร่ หรือ 2.08 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้ในราชการกองทัพเรือ ตามพระราชกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 72ก ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2541 คงเหลือพื้นที่ทั้งหมด 387.90 ตารางกิโลเมตร

ในหลวงกับเทคโนโลยี


ทฤษฎีใหม่ : การบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ
ในทุกคราที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดล พระราช หฤทัย อันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มปริมาณเม็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัด ของปริมาณที่ดิน เป็นอุปสรรคสำคัญ
4.หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้วเมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับปริมาณในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการทดลอง"ทฤษฎีใหม่"เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้นณวัดมงคลชัยพัฒนาตำบลห้วยบงอำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีแนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้ให้แบ่งพื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทย มีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ต่อครอบครัว แบ่งออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 คือ
ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตรโดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ในการเกษตร ได้ตลอดปีและยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชน้ำ พืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เนื้อที่เฉลี่ย ประมาณ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น2ส่วนคือร้อยละ30ในส่วนที่หนึ่ง:ทำนาข้าวประมาณ5ไร่ร้อยละ30ในส่วนที่สองปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพ ของ พื้นที่และภาวะตลาด ประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์ว่า ในพื้นที่ทำการเกษตร นี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าหากแบ่ง แต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะต้อง ใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่ เหลือ มีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริใหม่ที่บัดนี้ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่าง กว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์เกิดขึ้นด้วย พระอัจฉริภาพ สูงส่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ความสมบูรณ์พูนสุขแห่งราชอาณาจักรไทย อุบัติขึ้นในครั้งนี้ด้วยพระปรีชาสามารถอันเฉียบแหลมของพระมหากษัตริย์ไทยผู้มิเคยทรงหยุดนิ่งที่จะระดมสรรพกำลังทั้งปวงเพื่อความผาสุข ของชาวไทย
ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/ka-set_2.htm